การสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซมีหลายอย่างที่ต้องพิจารณา
คุณต้องเลือกชื่อโดเมนที่ตรงกับแบรนด์ของคุณ หาพลตฟอร์ม ปรับแต่งเทมเพลต อัปโหลดแคตตาล็อกสินค้า ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่ายังมีลิสต์อื่นๆ อีกมากมาย
การโฮสต์เว็บไซต์คือบริการที่ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าชมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณได้ ซึ่งมักถูกมองข้าม (หรืออาจจะไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าของธุรกิจเลยด้วยซ้ำ) ทั้งๆ ที่นี่เป็นเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของร้านขายของออนไลน์
โฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดที่คุณเลือกจะมีผลต่อประสบการณ์ของผู้ซื้อทุกอย่าง ตั้งแต่ความเร็วโหลด ไปจนถึงความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งหมดจะถูกจัดการโดยผู้ให้บริการโฮสต์ข สั้นๆ คือคุณต้องเลือกผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่ดีและตรงกับความต้องการที่สุด
แล้วผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่เหมาะกับคุณต้องมีลักษณะอย่างไร? คู่มือนี้จะให้ข้อมูลเปรียบเทียบผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด 9 ราย ในปี 2024
โฮสต์อีคอมเมิร์ซคืออะไร?
โฮสต์อีคอมเมิร์ซคือบริษัทที่ให้พื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ เพื่อรองรับร้านค้าออนไลน์
โดยบริษัทโฮสต์จะจัดเก็บข้อความ, รูปภาพ, และโค้ดที่ใช้ทำให้เว็บไซต์ของคุณมองเห็นได้สำหรับผู้ซื้อ ระบบนี้ทำงานร่วมกับเบราว์เซอร์ เพื่อส่งข้อมูลนั้นไปยังผู้ที่เข้ามายังเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ
9 ผู้ให้บริการโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด
1. Shopify
หนึ่งในโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดอย่าง Shopify มีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของธุรกิจออนไลน์ที่เจ้าของกิจการใช้เพื่อขับเคลื่อนร้านค้า
การโฮสต์ Shopify มีอัตราการใช้งาน 99.99% ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่สูงมาก นอกจากนี้ยังใช้ CDN (Content Delivery Network) ที่มีเซิร์ฟเวอร์หลายตัว เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ทั่วโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าอีคอมเมิร์ซของคุณได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าคุณธุรกิจของคุณจะโตเร็วแค่ไหน
คุณจะได้รับฟีเจอร์ที่ทรงพลังและสามารถปรับแต่งได้ ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Shopify เช่น
- ใบรับรอง SSL ฟรี
- แบนด์วิดธ์ไม่จำกัด
- ชื่อโดเมนฟรี
- การส่งต่ออีเมลไม่จำกัด
- การปฏิบัติตาม PCI
- ซอฟต์แวร์รถเข็นใช้งานง่าย
การโฮสต์ Shopify ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุด นั่นคือการทำธุรกิจออนไลน์ ส่วนการอัปเดตโฮสต์จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ คุณไม่จำเป็นต้องจัดการความขัดข้อง หรือใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า
คะแนน G2: 4.4 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $29 (ประมาณ 983 บาท) /เดือน เป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่คุณสามารถเริ่มทดลองใช้ฟรี ได้เลยตอนนี้
2. IONOS
IONOS หรือที่รู้จักกันในชื่อ 1&1 ก่อนหน้านี้ มีแพ็คเกจโฮสต์หลากหลาย เราแนะนำแผน Web Hosting Expert สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการโฮสต์ร้านค้าออนไลน์ ซึ่งรวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น
- พื้นที่จัดเก็บ 500 GB
- ติดตั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopify ด้วยคลิกเดียว
- อัตรา Uptime ที่ 99.99% ด้วยศูนย์ข้อมูล 2 แห่ง
- การวิเคราะห์เว็บไซต์
- ปรับปรุงทรัพยากร CPU
ฟีเจอร์ที่น่าประทับใจที่สุดของโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด IONOS คือความเร็วในการโหลด โดยมีรายงานเวลาโหลดที่เร็วกว่าโฮสต์อื่นๆ อย่าง Bluehost, GoDaddy, และ Hostgator
อย่างไรก็ตาม ลูกค้าหลายคนรายงานว่าการใช้แผงควบคุมของโฮสต์นี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ลึกกว่าปกติ และคาดว่าจะต้องใช้เวลาสักพักในการส่วนแบ็คเอนด์ของระบบการจัดการโฮสติ้ง ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ
คะแนน G2: 3.5 จาก 5 ดาว
ราคา: $8 (ประมาณ 271 บาท) ต่อเดือน เฉพาะปีแรก และราคา $16 (ประมาณ 542 บาท) ต่อเดือนในปีต่อๆ มา
Bluehost
Bluehost เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใช้ WordPress หรือ WooCommerce เพราะมีตัวเลือกสำหรับทุกงบประมาณ ตั้งแต่แผนโฮสติ้งแบบแชร์ไปจนถึง VPS สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต
ลูกค้าจะได้รับฟีเจอร์ต่างๆ ในแต่ละแพ็คเกจโฮสติ้ง รวมถึง
- สินค้าไม่จำกัด
- การประมวลผลการชำระเงิน
- ชื่อโดเมนฟรี
- พื้นที่จัดเก็บ SSD 30 GB
คุณควรสังเกตว่าบางฟีเจอร์ของ Bluehost จะถูกล็อคไว้สำหรับแพ็คเกจพรีเมียม รวมถึงความเป็นส่วนตัวของชื่อโดเมนและแบนด์วิดธ์ แพ็คเกจอาจมีราคาสูงขึ้นหลังจากหมดเขตโปรโมชัน
คะแนน G2: 3.5 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $9.95 (ประมาณ 337 บาท) ต่อเดือน
Siteground
Siteground รองรับโดเมนมากกว่า 2.8 ล้านโดเมนและมีอัตราความพึงพอใจของลูกค้า 98% บริการโฮสต์นี้ได้รับการแนะนำโดย WordPress และให้ผู้ก่อตั้งอีคอมเมิร์ซ
- การตรวจสอบความปลอดภัยตลอดเวลา
- การสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง
- การสำรองข้อมูลฟรีทุกวัน
- การป้องกัน Cloudflare
- การรวมการโฮสต์ WooCommerce
สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อเพิ่ม Siteground ลงในรายการโฮสต์ก็คือมันไม่เป็นไปตามมาตรฐาน PCI (มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลบัตรชำระเงิน) อีกต่อไป คุณจะต้องจ่ายเพิ่ม สำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ปฏิบัติตาม PCI เช่น Shopify เพื่อประมวลผลการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ที่โฮสต์โดย Siteground
คะแนน G2: 4.3 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $4.99 (ประมาณ 169 บาท)/เดือน
A2 Hosting
A2 Hosting มีแพ็คเกจหลากหลายสำหรับคนทำอีคอมเมิร์ซ แผนโฮสติ้งเว็บอีคอมเมิร์ซแบบแชร์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเว็บไซต์ใหม่ เมื่อการเข้าชมเติบโต คุณอาจต้องย้ายไปยังแผน VPS
- ใบรับรอง SSL ฟรี
- รับประกันเวลาใช้งาน 99.9%
- ความเร็วโหลดที่รวดเร็วโดยค่าเริ่มต้น
- พื้นที่จัดเก็บ SSD 250 GB
- ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มที่ใช้ PHP เช่น Magento, Drupal, และ Joomla
หนึ่งในจุดเด่นที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดอย่าง A2 Hosting คือนโยบายในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการสีเขียวของแบรนด์มีเป้าหมายจะปลูกต้นไม้ในเมือง Ann Arbor รัฐมิชิแกน โดยทุกครั้งที่มีลูกค้าจ่ายค่าแพ็คเกจใหม่ก็จะสมทบทุนในโครงการความยั่งยืนนี้ ซึ่งถือเป็นค่านิยมหลักที่แบรนด์ของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน
คะแนน G2: 4.4 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $11.99 (ประมาณ 406 บาท)/เดือน สำหรับแผนโฮสติ้งแบบแชร์
GoDaddy
GoDaddy เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในพื้นที่โฮสติ้ง โดยเคลมว่า 10.4% ของส่วนแบ่งตลาดโฮสติ้งเว็บ
ส่วนใหญ่ทำงานกับเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress, GoDaddy จะแพ็คเกจ 4 แบบ ได้แก่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่จัดเก็บ, แบนด์วิดธ์, และพลังการประมวลผลที่ร้านค้าอีคอมเมิร์ซของคุณต้องการ ซึ่งละแพ็คเกจรวมถึง
- การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง
- การเข้าถึงแอปฟรี 150 รายการ
- ศูนย์ข้อมูลทั่วโลก เพื่อเวลาโหลดที่รวดเร็ว
- การติดตั้ง WordPress ฟรี ด้วยคลิกเดียว
จะสังเกตได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตจะต้องคอยเปลี่ยนแผนโฮสติ้ง เมื่อพวกเขาขยายตัว เพื่อให้ได้พลังการประมวลผลและความเร็วที่เร็วขึ้น พร้อมกับพื้นที่จัดเก็บ 100 GB และใบรับรอง SSL ฟรี คุณจะต้องอัปเกรดเป็นแผน Ultimate หรือ Maximum
คะแนน G2: 3.9 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $9.99 (ประมาณ 339 บาท)/เดือน สำหรับแพ็คเกจแบบประหยัด
HostGator
HostGator เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาเมื่อค้นหาโซลูชันโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์มากกว่า 2 ล้านเว็บไซต์ใช้แพ็คเกจโฮสติ้งกับที่นี่ แม้ว่าคุณจะต้องมีแผน VPS ส่วนตัวเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น
- การรับประกันเวลาใช้งาน 99.9%
- การสนับสนุนตลอด 24/7 ทางโทรศัพท์หรือแชทสด
- การสำรองข้อมูลนอกสถานที่อัตโนมัติทุกสัปดาห์
- บัญชีอีเมลไม่จำกัด
เช่นเดียวกับแพ็คเกจโฮสติ้งอื่นๆ คาดว่าค่าธรรมเนียมรายเดือนจะเปลี่ยนไปเมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณเติบโต
นอกจากนี้ยังต้องระวังว่าโปรโมชั่นช่วงแรกมักจะต่ำกว่าราคาปกติ ดังนั้นจงเตรียมพร้อมสำหรับค่าธรรมเนียมการต่ออายุที่สูงขึ้น เมื่อโปรฯ ของคุณหมดอายุ
คะแนน G2: 3.6 จาก 5 ดาว
ราคา: เริ่มต้นที่ $19.95 (ประมาณ 676 บาท) ต่อเดือน สำหรับโฮสติ้ง VPS ส่วนตัว
DreamHost
DreamHost เป็นโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดยอดนิยมที่รับประกันเวลาใช้งาน 100% เป็นหนึ่งในบริการที่แนะนำสำหรับเว็บไซต์ WordPress
แผนอีคอมเมิร์ซของ DreamHost รวมถึงปลั๊กอิน WooCommerce คุณจะได้รับอีเมลไม่จำกัด, พื้นที่จัดเก็บ SSD ขั้นต่ำ 30 GB, การจัดเตรียมด้วยคลิกเดียว และการย้าย WordPress ฟรี
ฟีเจอร์บางอย่างรวมถึง
- การรับประกันเวลาใช้งาน 100%
- ฟีเจอร์ความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง
- เครื่องมือการจัดการโดเมน
- การถ่ายโอนข้อมูลไม่จำกัดต่อเดือน
- การรับประกันคืนเงินสำหรับโฮสติ้งแบบแชร์
- การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง
คะแนน G2: 4.0 จาก 5 ดาว
ราคา: $2.59 (ประมาณ 88 บาท)/เดือน สำหรับแผนเริ่มต้นแบบแชร์
InMotion Hosting
InMotion Hosting เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการโฮสต์ร้านค้าอีคอมเมิร์ซ มันมีแพ็คเกจโฮสติ้งเว็บไซต์หลากหลาย พร้อมกระบวนการตั้งค่าที่ง่ายและการสนับสนุนลูกค้าที่เชื่อถือได้ ข้อเสียคือคุณมีข้อจำกัดในการจัดเก็บในแผนพื้นฐาน
ฟีเจอร์บางอย่างรวมถึง
- ใบรับรอง SSL ฟรี
- ปรับให้เหมาะกับ PrestaShop, Magento, OpenCart, และ WooCommerce
- การสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมง
- การแคชขั้นสูง
คะแนน G2: 3.9 จาก 5 ดาว
ราคา: แผนเริ่มต้นที่ $2.49 (ประมาณ 84 บาท) ต่อเดือน
ประเภทของโฮสต์อีคอมเมิร์ซ
มี 2 ตัวเลือกที่ควรพิจารณา เมื่อเลือกโฮสต์อีคอมเมิร์ซใหม่
โฮสต์ SaaS
การโฮสต์ SaaS จะจัดทำโดยผู้สร้างเว็บไซต์ที่คุณใช้ในการสร้างร้านค้าอีคอมเมิร์ซ นี่เป็นตัวเลือกที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ก่อตั้งที่มีความรู้ด้านเทคนิคจำกัด ในหลายกรณี แพลตฟอร์มจะจัดการการเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์และชื่อโดเมนของคุณ โดยไม่ต้องใช้การเขียนโค้ดที่ซับซ้อน
นี่ยังเป็นตัวเลือกที่ถูกที่สุดสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหลายราย คุณจะได้รับการโฮสต์เว็บอีคอมเมิร์ซ รวมกับฟีเจอร์สำคัญอื่นๆ เช่น การประมวลผลการชำระเงิน การจัดการสินค้าคงคลัง และเครื่องมือจุดขาย (POS) ทั้งหมดในค่าธรรมเนียมรายเดือนเดียว
การโฮสต์ด้วยตนเอง
หากคุณต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นจากผู้ให้บริการโฮสต์ ให้พิจารณาการโฮสต์ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการมีระดับต่างๆ ขึ้นอยู่กับขนาดและความเร็วของเว็บขายของออนไลน์ของคุณ
- โฮสติ้งแบบแชร์: ตัวเลือกนี้ให้คุณเข้าถึงพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ที่แชร์ โดยมีหลายเว็บไซต์ที่ใช้เซิร์ฟเวอร์เดียวกัน ซึ่งหมายความว่าความเร็วเว็บไซต์ของคุณอาจได้รับผลกระทบ หากเว็บไซต์อื่นมีความต้องการมากกว่า พิจารณาตัวเลือกนี้หากคุณเพิ่งเริ่มต้นและต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย แต่ควรเตรียมพร้อมที่จะอัปเกรด
- เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน (VPS): หากงบประมาณของคุณอยู่ในช่วงนี้ VPS คือตัวเลือกที่ดีในการเริ่มต้น เพราะคุณจะมีส่วนย่อยที่เฉพาะเจาะจงของเซิร์ฟเวอร์ เพื่อพื้นที่จัดเก็บและแบนด์วิดธ์ที่มากขึ้น คุณจะมีการควบคุมที่มากขึ้นในการตั้งค่าร้านค้าอีคอมเมิร์ซ และคุณจะมีแนวโน้มที่จะไม่ถูกกระทบจากเว็บไซต์อื่นบนเซิร์ฟเวอร์ที่แชร์ทำให้เว็บไซต์ของคุณช้าลง
- เซิร์ฟเวอร์เฉพาะ: ด้วยตัวเลือกนี้ คุณจะไม่ถูกกระทบจากความต้องการของเว็บไซต์อื่น เว็บไซต์เดียวที่ใช้เซิร์ฟเวอร์คือของคุณ และหากเว็บของคุณกำลังโตในระดับที่มีผู้ใช้หลายหมื่นคนต่อเดือน ก็ควรพร้อมที่จะอัปเกรดไปยังแพ็คเกจนี้
ข้อเสียของการโฮสต์ด้วยตนเองคือมีค่าใช้จ่ายสูง การตั้งราคาแบบขั้นบันไดจะกระตุ้นให้ธุรกิจขนาดเล็กใช้จ่ายได้มากขึ้นเพื่อความเร็วในการโหลด การสนับสนุนลูกค้าตามลำดับความสำคัญ และแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเหล่านี้จะเพิ่มเติมจากค่าใช้จ่ายเว็บไซต์รายการอื่นๆ ที่คุณต้องคำนึงถึงในการทำเว็บไซต์
วิธีเลือกผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซ
ค้นหาคำว่า “ผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซ” ใน Google แล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์หลายล้านรายการ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทไหนควรได้รับความไว้วางใจ และเหมาะกับการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
นี่คือ 5 สิ่งสำคัญ ที่ผู้เริ่มต้นควรพิจารณาเมื่อเลือกผู้ให้บริการโฮสต์ใหม่
ราคา
มันสมเหตุสมผลที่จะจ่ายสำหรับโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากผู้ให้บริการเชื่อถือได้จะช่วยลดโอกาสความขัดข้อง แต่ต้องคำนึงว่าบางตัวเลือกอาจมีราคาถูกกว่าตัวอื่นๆ ในระยะยาว โดยเฉพาะหากคุณวางแผนที่จะขยายตัว
ตรวจสอบข้อจำกัดหรือค่าธรรมเนียมแอบแฝงในแพ็คเกจโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่คุณกำลังเปรียบเทียบ ด้วยผู้ให้บริการโฮสต์ด้วยตนเองบางราย ฟีเจอร์บางอย่างจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น การเข้าถึงการวิเคราะห์, การจัดเก็บไฟล์, การใช้แบนด์วิดธ์เกิน, และบัญชีอีเมลที่มีแบรนด์
วางแผนที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย? การโฮสต์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของคุณจะรวมค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเป็นค่าธรรมเนียมรายเดือนเดียว การโฮสต์ Shopify เริ่มต้นที่เพียง $29 (ประมาณ 983 บาท) ต่อเดือน นั่นรวมถึงชื่อโดเมน แบนด์วิดธ์ไม่จำกัด การจัดการสินค้าคงคลัง และการปฏิบัติตาม PCI ในแดชบอร์ดเดียว การจ่ายสำหรับฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซแต่ละรายการแยกกันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก
ความเร็วและแบนด์วิดธ์
ประสบการณ์ที่ลูกค้ามีกับเว็บไซต์ของคุณ สามารถทำให้การตัดสินใจซื้อของพวกเขาเป็นไปได้หรือไม่
การปรับปรุงความเร็วโหลดหน้าเพียงหนึ่งวินาที สามารถเพิ่มอัตราการคอนเวิร์ดชันบนมือถือได้ถึง 27% นอกจากนี้คุณยังจะปรับปรุง SEO อีคอมเมิร์ซ เช่น ความเร็วของเว็บไซต์เป็นปัจจัยอัลกอริธึมของ Google เสิร์ชเอนจิ้นต้องการชี้ผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่มีประสบการณ์ที่น่าพอใจ
มอบประสบการณ์ใช้งานที่ราบรื่นให้กับลูกค้า โดยให้ความสำคัญกับเวลาในการโหลดหน้าเว็บร้านขายของออนไลน์ของคุณ ตรวจสอบแบนด์วิดธ์ ข้อมูลสูงสุดที่โฮสต์สามารถถ่ายโอนระหว่างเว็บไซต์ของคุณกับผู้เข้าชมภายในช่วงเวลาที่กำหนด
หากคุณมีคนเข้าดูเว็บไซต์คุณเกินขีดจำกัดแบนด์วิดธ์ ลูกค้าจะเข้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ เพราะโฮสต์ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้เร็วพอที่จะรับมือกับความต้องการที่สูง ในกรณีนี้ คุณอาจต้องอัปเกรดแผน นั่นคือเหตุผลที่ผู้ให้บริการโฮสต์ที่มีแบนด์วิดธ์จำกัดอาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เมื่อธุรกิจของคุณขยายตัว
ลองตัดตัวเลือกโฮสต์ให้น้อยลง เหลือไว้เฉพาะผู้ให้บริการที่มีแบนด์วิดธ์ไม่จำกัด เพราะเมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเริ่มเติบโต แบนด์วิดธ์ไม่จำกัดจะมอบพลังการประมวลผลเพียงพอในการให้บริการผู้เข้าชมเว็บไซต์หลายพันคนในครั้งเดียว
เวลาใช้งาน
คุณเสียเงินทุกวินาทีที่ร้านค้าอีคอมเมิร์ซของคุณออฟไลน์ ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นโดยการเลือกผู้ให้บริการโฮสต์ที่มีประวัติการหยุดทำงานน้อยที่สุด
เครื่องมือดีๆ อย่าง Uptime และ Pingdom จะมอบรายงานอย่างตรงไปตรงมา แสดงผลผู้ให้บริการโฮสติ้งชั้นนำ รวมถึงปัญหาที่แต่ละรายมีและใช้เวลานานแค่ไหนในการตอบกลับเพื่อแก้ไข ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เวลา Uptime ควรใกล้เคียงกับ 100% มากที่สุด
ยืนยันกับแต่ละผู้ให้บริการว่าร้านค้าของคุณมีการสำรองข้อมูลหากเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากมีบางอย่างผิดพลาด คุณจะมีไฟล์เพื่ออัปโหลดใหม่และทำให้ร้านค้าของคุณกลับมาออนไลน์ ความถี่ของการสำรองข้อมูลเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความถี่ที่คุณอัปเดตเว็บไซต์ของคุณ ธุรกิจขนาดเล็กอาจต้องการการสำรองข้อมูลรายสัปดาห์; ร้านค้าที่ใหญ่กว่าที่มี SKU หลายพันรายการจะต้องการการสำรองข้อมูลทุกวัน
นอกจากนี้ ตรวจสอบการป้องกันที่ผู้ให้บริการโฮสต์แต่ละรายมอบให้กับศูนย์ข้อมูลของตน ผู้ให้บริการชั้นนำมีขั้นตอนในการป้องกันการหยุดทำงาน เช่น การรักษาความปลอดภัยในสถานที่ แหล่งพลังงานจากหลายแห่ง และระบบทำความเย็น เพื่อป้องกันไม่ให้เซิร์ฟเวอร์ร้อนเกินไป
ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
น่าเสียดายที่เจ้าของเว็บไซต์ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการโจมตี แฮคเกอร์สามารถฉีดโค้ดที่เป็นอันตรายเข้าสู่ข้อมูลของคุณและดักข้อมูลที่ส่งผ่าน Distributed Denial of Service (DDoS) ก็เป็นเรื่องปกติ มันเกิดขึ้นเมื่อแฮคเกอร์พยามทำให้โฮสต์ของคุณเกินขีดจำกัดและทำให้เว็บของคุณไม่สามารถเข้าถึงได้
ลดความเสี่ยงของการโจมตีที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณล่มอย่างมากโดยการเลือกโฮสต์ที่มีฟีเจอร์ป้องกันไวรัส เช่น
- การสแกนมัลแวร์
- การป้องกัน DDoS
- ไฟร์วอลล์
ในทำนองเดียวกัน ใครๆ ก็สามารถค้นหาข้อมูลของโดเมนได้โดยใช้ WHOIS lookup รวมถึงเมื่อเว็บไซต์ถูกลงทะเบียน หรือเมื่อโดเมนหมดอายุ หากคุณต้องการเก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับ ให้เลือกผู้ให้บริการที่มีการป้องกัน WHOIS
ใบรับรอง SSL ฟรี เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา ในการมองหาผู้ให้บริการโฮสต์ต่างๆ โดยร้านค้าอีคอมเมิร์ซจะถูกทำเครื่องหมายว่า “ไม่ปลอดภัย” หากไม่มีใบรับรอง SSL ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเว็บไซต์
พูดถึงการเข้ารหัสข้อมูล ลูกค้าจะส่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนผ่านเว็บไซต์เมื่อทำการซื้อออนไลน์ ปกป้องชื่อ ที่อยู่จัดส่ง และข้อมูลบัตรเครดิต โดยการยืนยันว่าผู้ให้บริการโฮสต์แต่ละรายปฏิบัติตาม PCI
มาตรฐานความปลอดภัยของอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน (PCI DSS) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ธุรกิจทั้งหมดที่ประมวลผลการชำระเงินออนไลน์ต้องปฏิบัติตาม ออกแบบมาเพื่อลดการฉ้อโกง ผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซของคุณต้องปฏิบัติตาม PCI เพื่อรับการชำระเงินเช่น Mastercard, American Express, Visa, และอื่นๆ
เพื่อการป้องกันเพิ่มเติม รวมผู้ให้บริการโฮสต์คลาวด์ของคุณกับบริการ เช่น Cloudflare ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างโฮสต์ และเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ เพื่อเพิ่มเลเวลของความปลอดภัย
การสนับสนุนลูกค้า
การโฮสต์อาจซับซ้อน โดยเฉพาะเมื่อปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเพิ่มขึ้น เช็คให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่คุณเลือกสามารถติดต่อได้ง่าย
“ผู้ให้บริการหลายรายเสนอการสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง แต่ระดับการสนับสนุนอาจแตกต่างกันมาก” เดฟ สมิธ (Dave Smyth) ผู้ร่วมก่อตั้ง Scruples กล่าว “พิจารณาตัวเลือกในการติดต่อทีมสนับสนุน โทรศัพท์หรือแชทสดอาจดีในกรณีฉุกเฉิน แต่บางครั้งคุณเพียงแค่ต้องส่งเรื่องอย่างรวดเร็ว แม้ว่างานจะไม่เร่งด่วน เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อคิวนาน”
นี่เป็นอีกหนึ่งความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแพลตฟอร์ม SaaS และการโฮสต์ด้วยตนเอง ซึ่งมักมีการตั้งราคาแบบขั้นบันได เพื่อกระตุ้นให้คุณจ่ายมากขึ้น เพื่อรับการบริการลูกค้าตามลำดับความสำคัญ
การเลือกโฮสต์อีคอมเมิร์ซมีความสำคัญ
ผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่คุณเลือกสำหรับร้านค้าออนไลน์เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ ผู้ให้บริการของคุณมีหน้าที่ทำให้เว็บไซต์เข้าถึงได้อย่างมีศักยภาพ จากทุกที่และทุกเมื่อที่ต้องการช้อปปิ้ง
ใช้เวลาสักครู่ในการตรวจสอบตัวเลือกโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่เราแนะนำได้ที่นี่ แต่ไม่ต้องรีบร้อนไป เพราะหลายผู้ให้บริการมีการรับประกันคืนเงินภายใน 30 วันและการทดลองใช้ฟรี เพื่อทดลองใช้แต่ละแพ็คเกจ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด
โฮสติ้งไหนดีสำหรับอีคอมเมิร์ซ?
Shopify เป็นผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดสำหรับร้านค้าออนไลน์ การโฮสต์เว็บไซต์รวมอยู่ในฟีเจอร์อื่นๆ ที่ธุรกิจต้องการในการขายออนไลน์ รวมถึงเทมเพลตเว็บไซต์ แดชบอร์ดการจัดการสินค้าคงคลัง และการประมวลผลการชำระเงิน
โฮสติ้งอีคอมเมิร์ซจำเป็นหรือไม่?
จำเป็น เพราะร้านค้าออนไลน์ทุกแห่งต้องการโฮสต์อีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการของคุณจะส่งต่อข้อมูล เช่น รูปภาพ, ไฟล์ข้อความ, และโค้ด ไปยังเบราว์เซอร์ของผู้เข้าชม หากคุณไม่มีโฮสต์เว็บไซต์จะใช้งานไม่ได้
โฮสต์อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท มีอะไรบ้าง?
ผู้ให้บริการโฮสต์อีคอมเมิร์ซมี 3 ประเภท ได้แก่ โฮสติ้งแบบแชร์ (การแชร์พื้นที่กับเว็บไซต์อื่นๆ บนข้อมูลเดียวกัน), เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน (ส่วนเล็กๆ ส่วนตัวของเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์), หรือเซิร์ฟเวอร์เฉพาะ (คุณเป็นเว็บไซต์เดียวที่ใช้เซิร์ฟเวอร์)
เซิร์ฟเวอร์อีคอมเมิร์ซคืออะไร?
เซิร์ฟเวอร์อีคอมเมิร์ซ คือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการโฮสต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ เบราว์เซอร์ของผู้ซื้อจะขอข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์นี้เมื่อโหลดหน้าเว็บไซต์